วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

[รีวิว] สถานีรถไฟในมาเลเซีย

ในการเดินทางไปมาเลเซียเมื่อวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา การเดินทางเที่ยวในมาเลเซียส่วนใหญ่ จะเป็นการเดินทางโดยรถไฟ ครั้นจะรีวิวสถานีรถไฟอย่าง KL Sentral (สะกดภาษาแบบมาเลย์) ก็มีหลายกระทู้ที่รีวิวไปแล้ว หรือจะรีวิวการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า LRT ก็มีหลายคนรีวิวแล้วเช่นกัน แต่สำหรับบทความนี้ ผมขอมารีวิวสถานีรถไฟสองสถานีด้วยกัน คือสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์เก่า และสถานีรถไฟเริมเบา

เหตุที่ต้องมาเขียนรีวิวสถานีรถไฟทั้งสองก็เนื่องจากว่า ตัวผมได้เดินทางไปเที่ยวเมืองเริมเบา รัฐเนอเกอรีเซิมบิลัน แล้วก็ถ่ายรูปสถานีมาซะละเอียด 55555 แต่ครั้นจะเอาไปใส่ในกระทู้เที่ยวเมืองเริมเบาก็กลัวว่าเนื้อหาที่ผมต้องการจะสื่อมันจะแปร่ง กลายเป็นกระทู้สถานีรถไฟแทน เอาละครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

DSCF0403.JPG

1. สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์เก่า
ก่อนอื่นเรามารู้ข้อมูลของสถานีรถไฟแห่งนี้คร่าวๆกันก่อน สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์นี้เคยเป็นสถานีศูนย์กลางของการเดินทางของรถไฟในมาเลเซีย ที่ทำการของบรรษัทรถไฟมาเลเซียหรือ KTM ก็ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีแห่งนี้ โดยสถานีรถไฟแห่งนี้เริ่มเปิดทำการเมื่อปี 1886 แล้วมีการก่อสร้างใหม่ในปี 1910 โดยมี Arthur Benison Hubback เป็นผู้ออกแบบ ซึ่ง A.B. Hubback ได้ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ Mughal (ผมไม่ได้เรียนสถาปัตย์ ไม่ชำนาญเรื่องพวกนี้) เอาเป็นว่าดีไซน์ของสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์นี้คล้ายคลึงกับดีไซน์ของมัสยิดจาเมกซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกคนเดียวกัน

สถานีกัวลาลัมเปอร์มีความสำคัญในการคมนาคมทางรถไฟในมาเลเซียอย่างมาก โดยเฉพาะรถไฟระยะไกลหรือ Intercity หรือในภาษามาเลย์คือ Antara Bandar กระทั่งปี 2001 จึงได้มีการย้ายศูนย์กลางของระบบขนส่งทางรางจากสถานีแห่งนี้ไปยังสถานีกัวลาลัมเปอร์เซ็นทรัล หรือเคแอลเซ็นทรัลที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง

การเดินทางมาที่สถานีรถไฟแห่งนี้ ง่ายที่สุดคือนั่งรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya มาลงที่สถานี Pasar Seni จากนั้นเดินตามสะพานลอยข้ามแม่น้ำกลังมายังตัวอาคารสถานี
DSCF0395

ทางเข้าสถานีจากสะพานข้ามจากสถานี Pasar Seni

เมื่อเข้ามาในตัวสถานี หันซ้ายจะเจอห้องน้ำ(ที่ใช้การไม่ได้)และประตูกั้นเพื่อเดินลงไปยังชานชาลา(เราอยู่ชั้นสองของตัวอาคาร) มองเลยไปข้างหน้าทางซ้ายจะเจอช่องขายตั๋ว พอหันไปทางขวาก็จะเจอกับเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ

DSCF0390

จุดแรกเมื่อเข้ามา

DSCF0392

จุดขายตั๋ว ด้านบนมีจอแสดงเที่ยวรถไฟต่างๆที่ผ่านสถานีรถไฟแห่งนี้

DSCF0397

DSCF0393.JPG

เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ

สารภาพตามตรงว่า ผมไม่ค่อยไว้ใจเครื่องขายตั๋วของ KTM เท่าไหร่นัก แล้วคนท้องถิ่นเองก็ไม่ค่อยซื้อตั๋วรถไฟผ่านเครื่องขายตั๋วด้วย ส่วนใหญ่ก็จะซื้อกับพนักงานตรงๆเลย

เมื่อได้ตั๋วมาแล้วก็เดินไปที่ชานชาลาเลยครับ

DSCF0398

ก่อนอื่นก็ผ่านประตูกั้นนี้ก่อน

DSCF0399

เดินมานิดนึงจะเจอกับบันไดเลื่อน สังเกตุที่ป้าย คือมาแล้วเหมือนสถานีร้าง เหมือนสถานีผีสิง คือมันเก่า มันดูไม่มีคน และดูขาดการดูแลมากๆ

DSCF0400

กำลังจะลงบันไดเลื่อน บันไดเลื่อนไม่ทำงานครับ มีสองตัวเสียสองตัว ตอกย้ำการไม่ดูแลรักษาเป็นอย่างยิ่ง

DSCF0401

ระหว่างเดินลงบันได(ไม่)เลื่อน ก็เจอรถไฟวิ่งมาพอดี

สำหรับคนที่จะเดินทางไปเที่ยวโดยใช้รถไฟ KTM Komuter จากสถานีนี้นะครับ ตัวชานชาลาที่รถไฟนี้ผ่านคือชานชาลาตรงกลาง หรือชานชาลา 2 และ 3 แต่ของผมผมเลือกลงชานชาลาที่ 1 เพื่อที่จะถ่ายตัวอาคารก่อนครับ

DSCF0404

เมื่อเดินลงมา มองจากตรงนี้ยังพอเห็นทรงอาคารอยู่ครับ

DSCF0408DSCF0409DSCF0410

กระจกหน้าต่างของสถานี ด้วยความที่สถานีแห่งนี้เคยเป็นสถานีใหญ่มาก่อน ช่วงที่เป็นสถานีใหญ่ผมคาดว่าการใช้งานห้องหับต่างๆน่าจะเต็มทุกสัดส่วน แต่พอสถานีนี้ถูกลดระดับความสำคัญลงไป การใช้งานตัวอาคารก็ไม่เต็มที่เหมือนแต่ก่อน หลายห้องรู้เลยว่าถูกปิดตาย บางห้องร้างกระจกแตกหลายบานอย่างเห็นได้ชัด

DSCF0411

ภาพนี้ถ่ายจากชานชาลาที่หนึ่งซึ่งจะเห็นชานชาลาที่สองสามและสี่ รวมถึงอาคารที่ชานชาลาที่สี่ ซึ่งผมไม่ได้เดินไปดูตรงจุดนั้นเพราะความขี้เกียจ

DSCF0412

ป้ายชานชาลาที่หนึ่งครับ ไปทางใต้ south, selatan คือไปทางสถานีรถไฟ KL Sentral ครับ

ทีนี้เรามาดูด้านในตัวอาคารกันบ้าง

DSCF0413DSCF0416

ด้านในตัวอาคารนี้ผมไม่ได้ลืมปรับแสงนะครับ อันนี้ตั้งใจปรับตามแสงธรรมชาติเลย คือตัวอาคารมืดมาก แล้วดูแล้วคนก็คงจะไม่ค่อยใช้บริการสถานีนี้เท่าไหร่ เท่าที่สังเกตุเห็นมีบูธหลายบูธตั้งอยู่ แต่ไม่มีใครเฝ้า คือมีแต่บูธร้าง(ตามความเข้าใจของผม) ผมคิดว่าทางสถานีน่าจะเปิดไฟให้สว่างกว่านี้นะครับ

สถานีรถไฟทุกสถานีในมาเลเซียมีการปรับปรุงเรื่องของชานชาลาหมดแล้ว คือยกชานชาลาให้สูงเทียบเท่าระดับของขบวนรถ ซึ่งเรื่องนี้บ้านเรายังไม่ทำ ดังนั้นคนแก่หรือคนพิการที่จำเป็นต้องใช้บริการรถไฟในบ้านเราจึงค่อนข้างจะลำบากเพราะตัวขบวนรถไฟนั้นสูงกว่าชานชาลา เมื่อสถานีรถไฟมีการยกระดับชานชาลาหมดแล้ว การเดินข้ามทางรถไฟแบบบ้านเราจึงทำไม่ได้(เพราะตัวชานชาลาค่อนข้างสูง)

DSCF0417

DSCF0419DSCF0422

ตัวสถาปัตยกรรมของสถานี แบบอินเดีย อันนี้ถ่ายระหว่างที่ผมเดินบนสะพานข้ามระหว่างชานชาลา

แล้วเราก็ข้ามมายังชานชาลาตรงกลางครับ รถไปตัมปินขึ้นที่ชานชาลาที่สาม

DSCF0423DSCF0424

สถานีกัวลาลัมเปอร์มีรถไฟฟ้า KTM Komuter ผ่านสองสายนะครับคือสายที่ไปกลังกะไปตัมปิน ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ผมไปสายตัมปิน(สายสีแดง)

DSCF0425DSCF0428DSCF0427

ถ่ายจากชานชาลาที่สอง

DSCF0407

แปลเป็นภาษาไทยคือระวังอันตราย

ก่อนจะรีวิวสถานีรถไฟเริมเบา ผมขอเล่าอะไรนิดนึง ระหว่างที่ผมถ่ายรูปอยู่นั้น ผมก็เกิดปวดท้องฉี่ขึ้นมา ก็เลยไปเข้าห้องน้ำ ใจก็อยากจะรีวิวห้องน้ำมาให้ดูด้วย แต่พอเข้าไปถึง สภาพนี่สกปรกมากกกก ห้องน้ำรถไฟไทยเราดีกว่าพอควรเลยทีเดียว แล้วโถฉี่แบบเก่าของมาเลย์(ย้ำว่าแบบเก่า) ที่ไม่ได้มีการปรับปรุง คือมันจะมีลักษณะเป็นรางน้ำยาวๆ ไม่ได้เป็นโถ คล้ายๆห้องน้ำตามปั้มบ้านเราสมัยก่อน ยังไงยังงั้นเลย แล้วห้องน้ำ ห้องน้ำทุกห้องไม่กดชักโครกทุกห้อง(พระเจ้าาาา) ผมพยายามจะชักตัวชักโครกเพื่อทำความสะอาด(ส้วมสมัยเก่าจริงๆใช้ชักไม่ใช้กด) น้ำไม่ออก คือเละเทะเลย แสดงให้เห็นว่า ห้องน้ำไม่มีการดูแลเลยแม้แต่น้อย น่าเสียดายนะครับ น่าจะมีการดูแลมากกว่านี้ ทำให้ดูสะอาดและสว่างกว่านี้จะดีมาก มันจะกลายมาเป็นแหล่งที่น่าเที่ยวได้นะผมว่า

จากรีวิวสถานี(เคย)ใหญ่ แล้วเราไปดูสถานีเล็กกันบ้าง

2. สถานีรถไฟเริมเบา

DSCF0472

พอลงจากรถไฟที่สถานีเริมเบา ฝนก็กำลังลงเลยทีเดียว สถานีเริมเบาตัวสถานีค่อนข้างใหม่ ในความเห็นผมสถานีเริมเบาถือว่าเป็นสถานีเล็กนะครับ ส่วนประวัติของสถานีนี่ผมไม่ทราบว่าเริ่มสร้างปีไหนเมื่อไหร่

DSCF0473

ลงมาก็จะเห็นป้ายบอกสถานีก่อนหน้า (Sungai Gadut) และสถานีถัดไป (Pulau Sebang) และบอกชานชาลา

DSCF0533

ป้ายประเพณีสถานีเริมเบา ถ้าบ้านเราก็เป็นป้ายสีขาวๆนั่นแหละครับ แต่ที่นี่ใช้สีน้ำเงิน

จากรูปเมื่อกี้จะเห็นนะครับว่า เมื่อสถานีรถไฟในมาเลเซียปรับปรุงชานชาลาแล้วหมายความว่า ทุกสถานีจะต้องมีสะพานข้ามทั้งหมด และห้ามเดินข้ามชานชาลาโดยเด็ดขาด

DSCF0534

รูปนี้ถ่ายจากชานชาลาที่ 1 จะเห็นว่าตัวชานชาลาแยกออกจากอาคารสถานีชัดเจน และเชื่อมกันด้วยสะพานข้าม โดยตัวอาคารสถานีจะอยู่ซ้ายมือ

DSCF0476DSCF0475

ภาพจากชานชาลาที่หนึ่งถ่ายไปที่ชานชาลาที่สอง

พอลงจากรถ ข้ามสะพานข้ามชานชาลามายังตัวอาคารสถานี ก็จะเห็นแนวกั้นแบบนี้ ด้วยความที่สถานีเริมเบาไม่ได้สร้างประตูกั้นอัตโนมัติเหมือนสถานีอื่นๆ ทำให้วิธีการเก็บตั๋วคืน(ตั๋วเหรียญ)จึงใช้วิธีการแบบมาเล๊...มาเลย์ นั่นก็คือ

DSCF0480DSCF0478

ใช้กล่องกระดาษมาตั้งแล้วเอาตั๋วแบบเหรียญวางทิ้งไว้นั่นเอง ส่วนสถานีเริมเบานั้นเวลาออกตั๋ว จะออกเป็นตั๋วกระดาษแทน ซึ่งหลังจากที่ผมเดินทางมาแล้วผมก็พบว่าหากจะลักไก่เดินทางฟรีนั้น หากจะทำก็ทำได้ เพราะแต่ละสถานีเองก็ยังใช้ระบบตั๋วไม่เหมือนกัน บางสถานีไม่มีที่กั้นแบบที่ผมว่า มันเลยมีช่องโหว่พอสมควร แต่เอาเป็นว่าผมไม่แนะนำ แล้วอย่าไปทำเลยนะครับ ไม่ดีหรอกครับ

DSCF0481

ภายในสถานี เรียกได้ว่าไม่มีอะไรเลย นอกจากที่ขายตั๋วด้านหน้า หลังหลังที่ผมยืนก็เป็นทางไปห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำที่สถานีเริมเบานั้นสะอาดมากๆ มากกว่าสถานีกัวลาลัมเปอร์หลายเท่า ด้านหน้าที่เห็นเป็นแนวไกลๆคือแนวกั้นเพื่อไปยังชานชาลารถไฟ เอาเป็นว่ารถไฟมาเลย์หากจะส่งกันก็ส่งกันได้แค่นี้ จะไปส่งถึงชานชาลา หรือส่งยันบนขบวนรถไฟแบบบ้านเรานั้นทำไม่ได้ครับ ส่วนทางซ้ายมือ(ไม่เข้าเฟรม)เป็นบันไดเพื่อลงไปชั้นล่างแล้วออกจากตัวอาคารครับ

DSCF0477

อันนี้เป็นทางสถานีเอารูปภาพสถานีเก่าๆมาติดไว้

ออกมาด้านหน้าสถานี คือจะบอกว่าตัวอาคารสถานีนี้ดูใหญ่ แต่ใหญ่เพียงโครงสร้างครับ เมื่อเดินเข้ามา ชั้นล่างไม่มีอะไรมีก็แต่ลิฟท์หรือบันไดเพื่อขึ้นไปชั้นสอง ซึ่งเป็นจุดจำหน่ายตั๋วและทางเดินไปชานชาลาแค่นั้น แต่อนาคตผมคาดว่าหากเขาจะขยายการใช้งาน ขยายห้องหับต่างๆก็น่าจะทำได้ การออกแบบให้ใหญ่อาจจะเป็นการออกแบบเผื่อไว้ในอนาคต(มโนล้วนๆ)

DSCF0483.JPG

ด้านหน้าสถานี

DSCF0482

ด้านหน้าสถานีอีกมุม

DSCF0484

ด้านหน้าสถานีแบบเก็บหมดทั้งอาคาร

DSCF0486

ด้านนอกของสถานีเริมเบา ฝนเพิ่งหยุดตก

บทความนี้ผมอยากให้ผู้อ่านได้เห็นตัวสถานีสถานีรถไฟของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วลองเปรียบเทียบกันดู หรือจะลองเปรียบเทียบกับสถานีรถไฟในบ้านเราก็ได้นะครับว่าดีหรือด้อยกว่าเราอย่างไร สำหรับผมผมมองว่ามาเลย์เริ่มเปลี่ยนแปลงก่อน เริ่มปรับปรุงก่อน เขาจึงเห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันมากกว่า แต่หากถามว่าระบบต่างๆดีกว่าบ้านเรามากมั้ย ส่วนตัวผมมองว่าไม่เท่าไหร่ ดีกว่าแต่ก็ยังไม่มาก แล้วในขณะนี้โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในบ้านเรากำลังก่อตัวและมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะระบบขนส่งทางราง ผมเชื่อมั่นว่า หากเรายังพัฒนาไปแบบนี้ เรามีโอกาสตามทันแล้วเผลอๆอาจจะแซงเลยก็ได้ ยังไงก็ลองพิจารณาดูนะครับ ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้าครับ



วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Satu Hari Di Rembau หนึ่งวันในเริมเบา

เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านน่าจะไม่เคยได้ไป หรือไม่เคยได้ยินชื่อ หรือไม่เคยสนใจเมืองนี้มาก่อน แต่วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาเที่ยวที่เมืองเริมเบา ประเทศมาเลเซียครับ

DSCF0533.JPG

ถ้าถามว่าทำไมผมถึงเลือกมาเที่ยวที่เมืองเริมเบานี้ สาเหตุก็มาจาก ผมได้ดู MV เพลงๆหนึ่ง เพลงนี้มีชื่อว่า "Satu Hari Di Rembau" หรือแปลเป็นภาษาไทยก็คือหนึ่งวันในเริมเบา ตามที่ผมเอามาตั้งเป็นชื่อของบล็อกในวันนี้นี่เอง

Screen Shot 2560-05-21 at 4.00.54 PM



Satu Hari Di Rembau, Jalan Sampai Ku Penat

หนึ่งวันเริมเบา เดินกันจนเหนื่อย

Satu Hari Di Rembau, Makan Sampai Ku Berat

หนึ่งวันในเริมเบา กินกันจนอิ่ม

Satu Hari Di Rembau, Lepak Dengan Kawan

หนึ่งวันในเริมเบา พักผ่อนกับเพื่อนๆ

Pengalaman Di Rembau, Takkan Di Lupakan

ประสบการณ์ที่เริมเบา ไม่มีวันลืม

ก่อนอื่นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นของเมืองนี้กันก่อน เริมเบามีสถานะเป็นเขต(Daerah)หรืออำเภอ ตั้งอยู่ในรัฐเนอเกอรีเซิมบิลัน(Negeri Sembilan) ในเขตเริมเบาแบ่งออกเป็น 17 มุกิม(Mukim)หรือตำบล อยู่ห่างจากเมืองเซอเริมบัน(Seremban)เมืองหลวงของรัฐเนอเกอรีเซิมบิลันทางตอนใต้ 25 กิโลเมตร

สำหรับการเดินทางมายังเมืองเริมเบาจากกัวลาลัมเปอร์นั้นง่ายดายมากๆ โดยมีรถไฟ KTM Kommuter ให้บริการ ซึ่งในบล็อกนี้ผมจะรีวิวการใช้งานรถไฟ Kommuter แบบคร่าวๆ แต่จะเน้นบรรยากาศของเมืองเริมเบาเป็นหลัก ส่วนสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์(เก่า)และสถานีรถไฟเริมเบานั้นผมอาจจะทำเป็นรีวิวต่างหากออกมาอีกทีนะครับ

DSCF0395

เริ่มจากทางเข้าสถานี ในการเดินทางครั้งนี้ ผมเดินเข้าตัวสถานีจากทางข้ามของสถานีรถไฟฟ้า Pasar Seni

DSCF0397

เมื่อเดินมาทางซ้ายมือจะเห็นประตูกั้นและต่อด้วยช่องขายตั๋ว ก่อนอื่นก็ทำการซื้อตั๋วโดยสารกันก่อนครับ โดยค่าโดยสารจากสถานีกัวลาลัมเปอร์ไปยังเริมเบาอยู่ที่ 11.40 ริงกิต

ขาไปจากสถานีกัวลาลัมเปอร์ ทางเจ้าหน้าที่จะออกให้เป็นเหรียญ

เมื่อได้ตั๋วแล้วก็ข้ามประตูกั้นไปยังชานชาลากันครับ

DSCF0423.JPG

สำหรับการเดินทางไปเริมเบา เราจะเลือกขึ้นที่ชานชาลาที่สามนะครับ

DSCF0438.JPG

ที่ชานชาลาแสดงเวลาออกรถ รถของเราเป็นขบวนรถปลายทางสถานี Tampin รถจะมาเทียบชานชาลาจาก Batu Cave เวลา 08.54น.

DSCF0439.JPG

รถคอมมูเตอร์มาเทียบชานชาลาแล้วครับ ในความเห็นของผมรถ KTM Kommuter มันก็เหมือนกับรถไฟชานเมืองบ้านเรานี่แหละครับ ของเขาจะวิ่งร้อยกว่าๆกิโลออกจากกัวลาลัมเปอร์ อย่างสายที่ผมขึ้นนี้วิ่งจากบาตูเคฟ รัฐสลังงอร์ ไปสุดที่สถานีตัมปิน รัฐมะละกา ผ่านพื้นที่รัฐสลังงอร์ ต่อที่กัวลาลัมเปอร์ ทะลุรัฐสลังงอร์อีกรอบ ต่อมาที่รัฐเนอเกอรีเซิมบิลัน แล้วสุดที่รัฐมะละกา โดยทาง KTM นั้นใช้รถไฟฟ้าในการวิ่ง แล้วมีการเพิ่มรอบออกบ่อยๆในแต่ละวัน ในไทยผมก็เห็นหลายสายเช่นไปลพบุรี ไปแก่งคอย เป็นต้น แต่บ้านเรายังไม่ได้วิ่งกันแบบถี่ๆเหมือนที่นี่ ถ้าบ้านเราทำ ผมว่ามันจะเป็นการผ่องถ่ายคนให้ออกไปอยู่นอกเมืองมากขึ้น

DSCF0448.JPG

ภายในรถ ดูสะอาด สว่าง กว้างขวาง

DSCF0458.JPG

มีบอกรายนามสถานี คือจะบอกว่ารถไฟชานเมืองสายเซอเริมบันนั้น วิ่งจากบาตูเคฟไปจนถึงตัมปิน แต่ในป้ายนี้ยังสุดอยูที่สุไหงกาดุด คือยังไม่ได้อัพเดทสองสถานีสุดท้าย คือเริมเบากับตัมปิน

DSCF0450.JPG

ออกมาได้แป๊ปเดียวก็เจอเลย การทักทายจากฝน ตกค่อนข้างหนัก

DSCF0462DSCF0464DSCF0467

ข้างทางมีถนนสลับกับป่าปาล์มเป็นระยะๆ ข้างทางรถไฟมาเลย์จะคล้ายๆเวลาเรานั่งรถไฟสายใต้ ซึ่งสำหรับผมถือว่าค่อนข้างแปลกตา เพราะสายอีสานบ้านเรามองไปก็เจอแต่ทุ่งนา แต่อันนี้เจอแต่ต้นปาล์ม

DSCF0472.JPG

และแล้วเราก็มาถึงสถานีรถไฟเริมเบา ใช้เวลาในการเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ประมาณเกือบสองชั่วโมง

DSCF0486.JPG

ด้านหน้าสถานีรถไฟเริมเบา หันหลังกลับแล้วเดินตรงไปเลยครับ

DSCF0487

เดินผ่านใต้สะพานนี้เลย ตัวเมืองเริมเบาห่างจากสถานีรถไฟประมาณ 300 เมตร

DSCF0490

เมื่อเดินมาเรื่อยๆก็จะเห็นบรรดาตึกแถวเก่าๆตั้งเรียงราย เริมเบาเป็นเมืองที่ค่อนข้างเล็ก มีถนนเพียงไม่กี่เส้นที่ตัดผ่าน ดังนั้นจึงแทบไม่ต้องนั่งรถเลยสำหรับเมืองนี้ สามารถเดินเที่ยวได้เลย

DSCF0496DSCF0499

ปีเหล่านี้ยืนยันได้ถึงความเก่าแก่ของตึกแถวเหล่านี้ได้ดี ปี 1928 นี่มันสมัยอาณานิคมเลยทีเดียว มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษปี 1957 นั่นคือ ตึกนี้เกิดก่อนการก่อตั้งประเทศมาเลเซียซะอีก

เมื่อเดินมาเรื่อยๆก็เจอกับหลายสิ่งหลายอย่างที่จัดเรียงแสดงให้ผมดู ผมพูดเลยว่าวันนั้นมีผมเป็นนักท่องเที่ยวคนเดียว คนเดียวจริงๆที่บ้ายืนสะพายกล้องเดินถ่ายนู่นถ่ายนี่ไปทั่วเมือง

DSCF0492DSCF0495

โกดังเก็บเครื่องดื่มของบริษัทF&N ที่ปัจจุบันบริษัทไทยเบฟเทคโอเวอร์ไปแล้ว

DSCF0501DSCF0502

มีแผงขายอาหาร ขายผลไม้ตั้งอยู่ริมถนน

DSCF0503

ร้านเฟอร์นิเจอร์ร้านนี้ไม่ได้เปิด ทำให้เราเห็นว่าร้านนี้ใช้ประตูแบบเก่าดูเรทโทรสุดๆ

DSCF0504

แล้วสุดๆจริงๆคือร้านถ่ายรูปร้านนี้ที่คงความเก่าในการแต่งร้าน ในร้านมีรูปของคนต่างๆ เดาว่าน่าจะเป็นลูกค้าที่มาถ่ายรูปที่ร้าน เดาว่าส่วนใหญ่ในตอนนี้คงแก่มากแล้ว เพราะแต่ละรูปเก่าๆทั้งนั้น ผมพยายามใช้ความกล้าในการถ่ายรูปในร้านนี้ สุดท้ายก็ใช้วิธีที่ตัวเองถนัดคือ พอสบช่วงเจ้าของร้านหายไปหลังร้านก็จัดการถ่ายทันที

DSCF0505

เมื่อเดินมาเรื่อยๆก็มาเจอกับมัสยิด มัสยิดนี้ชื่อว่ามัสยิด An-Nur

DSCF0506

ตรงข้ามมัสยิดเป็นร้าน KFC เท่าที่สังเกตุคือในมาเลเซียเอง แทบทุกเมืองหลักๆจะมี KFC แบบนี้ เป็นร้านแบบนี้ตั้งอยู่เสมอ

DSCF0508

เดินมาเรื่อยๆก็เจอร้านของชำ

DSCF0507

มันดูเรทโทรดีนะ

DSCF0510

Balai Polis หรือภาษาไทยคือ สถานีตำรวจ เดาว่าตำรวจที่เมืองนี้งานน่าจะน้อย

DSCF0513

เมืองนี้วิวดีมาก ติดเขา มองเห็นเขา

DSCF0512

เดินมาเรื่อยๆก็เจอกับ Dataran Rembau ดาตารันภาษามาเลย์แปลก็แปลว่าลาน อันนี้ก็ออกแนวเป็นลานกิจกรรมเอนกประสงค์ของเมือง

DSCF0514DSCF0515

เห็นอันนี้ติดตาตั้งแต่ในมิวสิกวีดีโอ satu hari di rembau แล้ว

DSCF0517

หลังจากเดินตามถนนใหญ่แล้ว จากตึกนี้จะมีซอยเล็กๆ ก็ลองเดินเข้าไปดู แล้วก็เจอ

DSCF0520

นี่ครับ ร้านกาแฟหรือ Kedai Kopi คืออยากจะบอกว่าร้านนี้แนวมาก สตาร์บัค แบล็คแคนยอน อเมซอน ถอยไปเลย ร้านนี้ตั้งแอบๆอยู่ในซอยเล็กๆ ทางเข้าที่ดูไม่เหมือนร้านกาแฟตามความเคยชินของผม ทำผมประหลาดใจมากๆ เขาไม่แคร์ลูกค้าจริงๆนะ ขณะที่ผมกำลังถ่ายรูป เจ้าของร้านก็ออกมา ก็เลยขออนุญาตถ่ายรูป แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เข้าไปด้านใน น่าเสียดายมากๆ

DSCF0522

ระหว่างเดินไปในซอยก็เจอคุณยายท่านนี้กำลังเดินก็ชักภาพซะหน่อย

DSCF0525

ร้านมุยฟง ได้ยินจากเพลงเหมือนกัน ตั้งใจจะมากิน หาตั้งนานก็หาไม่เจอ สุดท้ายก็พบว่าตัวเองเดินผ่านสามสี่รอบ เขาเปลี่ยนชื่อร้านใหม่ แต่ป้ายเล็กยังเป็นมุยฟงอยู่ ที่ยิ่งกว่านั้นคือ ร้านปิดครับ ตั้งใจจะมากินแท้ๆ อดเลย

จากนั้นก็เดินเรื่อยเปื่อยเล่นๆในซอยซักพัก ก็ถ่ายนั้นถ่ายนี่ไปเรื่อย ดูนั่นดูนี่ไปเรื่อย

DSCF0526DSCF0527DSCF0524.JPGDSCF0530

คนขวามือไม่รู้จัก แต่คนซ้ายมือคือ Khairy Jamaluddin นักการเมืองพรรคอัมโน ซึ่งเป็นส.ส.เขตเลือกตั้งเริมเบา

DSCF0531

ร้านตัดผมในเมืองเริมเบา

เมื่อเดินจนทั่ว จนพอใจแล้วก็เดินกลับมายังสถานีรถไฟเริมเบาเดินทางกลับกรุงกัวลาลัมเปอร์

DSCF0532

DSCF0538.JPG

ขาไปได้เป็นเหรียญ ขากลับได้ตั๋วกระดาษ 5555

สุดท้าย เริมเบาเป็นเมืองเล็กๆ หลายคนอาจจะไม่สนใจ ที่ดึงดูดใจสู้เมืองอื่นไม่ได้ แต่หากต้องการไปดูวิถีต่างจังหวัด ความเรทโทร ตึกแถวเก่าๆ ความสงบ เดินทางง่าย ที่นี่ตอบโจทย์ อยากให้ลองแวะไปเที่ยวดู มามาเลย์ไม่จำเป็นต้องไปเกนติ้ง มะละกา หรือปีนัง ผมคิดว่าบล็อกนี้น่าจะเป็นรีวิวแรกๆในไทยที่รีวิวเมืองนี้(เท่าที่เจอนะครับ) ส่วนผม ด้วยความที่ชอบดูตึกแถวเก่าๆเมืองนี้ผมชอบเลย ยิ่งเห็นร้านต่างๆริมถนนมันเหมือนกับเราได้ย้อนไปในอดีต ด้วยความที่หลายร้านนั้นจัดร้านแบบเดิมค่อนข้างมาก ลองดูครับ สำหรับบทความนี้ถ้ามีอะไรขาดตกบกพร่องก็ขออภัยด้วยนะครับ เจอกันใหม่บทความหน้าครับ

ปิดท้ายด้วยรูปแมวที่เมืองเริมเบา แมวภาษามาเลย์เรียกว่า kucing (กูชิง)

DSCF0494